บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2022

ร่วมประเพณีไทย ยิ่งใหญ่ตระการตา กับประเพณีผีตาโขน

รูปภาพ
ประวัติประเพณีผีตาโขน ประเพณีบุญหลวง        งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน  เป็นงานประเพณีประจำปีของชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ค่ะ ซึ่งจะจัดขึ้นหลังวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ที่ถนนหลายๆ สายของอำเภอด่านซ้าย หรือที่อื่นๆ ในจังหวัดเลย โดยเป็นงานที่มีบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และมีชื่อเสียงอย่างมากในประเทศไทย         การละเล่นผีตาโขน   เป็นงานประเพณีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่าจัดขึ้นตั้งแต่ยุคใด ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ได้ปฏิบัติและสืบทอดต่อกันมาจากบรรพบุรุษ จึงทำให้งานประเพณีผีตาโขน เป็นประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัดเลย โดยเป็นการนำโดยนำงานบุญหลวง หรือ บุญผะเหวด งานบุญบั้งไฟ งานบุญซำฮะ (สะเดาะเคราะห์บ้านเมือง) และการละเล่นผีตาโขนมารวมเป็นงานเดียวกัน เพื่อเป็นการ  บูชาอารักษ์หลักเมือง และพิธีการบวงสรวงดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มาของ ผีตาโขน        ต้นกำเนิดของ  ผีตาโขน  นั้น เดิมมีชื่อเรียกว่า  ผีตามคน  เป็นเทศกาลที่ได้รับอิทธิพลมาจาก ม หาเวสสันดรชาดก  ชาดกในพระพุทธศาสนา มีตำนานว่า       เมื่อครั้งพระเวสส

ร่วมย้อนเวลาสู่ยุคโชซอนกับหมู่บ้านบุกชอนฮันอกกันเถอะ

รูปภาพ
  หมู่บ้านบุกชอนฮันอก โซล ที่เที่ยวเกาหลี หมู่บ้านโบราณใจกลางเมือง  ประวัติ และที่มาของชื่อ  หมู่บ้านบุกชอนฮัน          บุกชอนฮันอกมาอึล ( 북촌한옥마을)  หรือ  หมู่บ้านบุกชอนฮันอก (Bukchon Hanok Village)  เป็นหมู่บ้านสไตล์เกาหลีดั้งเดิมที่มีอายุยาวนานกว่า 600 ปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) ตั้งอยู่ระหว่างพระราชวังเคียงบก (Gyeongbokgung Palace),  พระราชวังชางด็อก (Changdeokgung Palace) และศาลเจ้าชงมโย (Jongmyo Shrine) ในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ค่ะ       ที่มาของชื่อแบ่งเป็นสองส่วน คือ  บุกชอน  แปลว่า “หมู่บ้านทางตอนเหนือ” ซึ่งตั้งตามตำแหน่งของหมู่บ้านที่อยู่ทางตอนเหนือของ  คลองชองกเยชอน (Cheonggyecheon Stream)  ส่วนคำว่า  ฮันอก  นั้นหมายถึงรูปแบบบ้านสไตล์ดั้งเดิมของเกาหลีนั่นเองค่ะ ภายในหมู่บ้านจะมีบ้านเรือนทั้งหมดประมาณ 100 หลัง ในสมัยก่อนเคยเป็นที่อยู่อาศัยของสมาชิกราชวงศ์โชซอนและขุนนางระดับสูง แต่ปัจจุบันก็ได้ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งของประเทศเกาหลีเลยค่ะ   บรรยากาศรอบๆ  หมู่บ้านบุกชอนฮันอก   แม้  หมู่บ้านบุกชอนฮันอก  ในปัจจุบันจะยังคงเป็นที่อยู่

ขนมตาล สูตร"หอมนุ่มถูกปาก สีสันถูกใจ" ร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย

รูปภาพ
     ขนมตาลเหนียวนุ่ม  ขนมไทย สีเหลืองทองน่าหม่ำ เนื้อฟูหอม พูดแล้วก็อยากกิน ! 💘รีบไปหาซื้อเนื้อลูกตาลแล้วเตรียมตัวเข้าครัวกันเลย💘             จะมีสักกี่คนที่เดินผ่านร้านขาย ขนมไทย ในขณะที่กำลังนึ่งขนมตาลร้อน ๆ แล้วจะไม่หยุดชะงักไปกับกลิ่นหอม ๆ ของ ขนมไทย ถ้วยนี้ สีเหลืองสดใสอยู่ในกระทงใบตอง หรือสมัยนี้ก็อยู่ในถ้วยตะไลเล็ก ๆ เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติหวานกำลังดี  วันนี้เราก็มีวิธีทำขนมตาลมาฝาก ประยุกต์มาจากขนมตาลสูตรดั้งเดิมให้ทำได้ง่ายขึ้น มือใหม่ก็สามารถลองทำได้ ลองมาดูส่วนผสมและวิธีทำกันค่ะ ส่วนผสม ขนมตาล⭐           • น้ำตาลทราย 400 กรัม           • กะทิ 3 ถ้วย           • เนื้อลูกตาลสุก 400 กรัม           • แป้งข้าวเจ้า 500 กรัม           • ผงฟู 1 ช้อนโต๊ะ           • มะพร้าวขูดเส้นเล็ก 2 ถ้วย               •  เกลือเล็กน้อย (สำหรับคลุกมะพร้าว)   วิธีทำขนมตาล ⭐            1. ละลายน้ำตาลทรายในกะทิให้เข้ากันแล้วใส่เนื้อลูกตาลลงไป คนให้เข้ากัน            2. เติมแป้งและผงฟูลงไป คนให้เข้ากันจนเนียน            3. กรองส่วนผสม พักไว้ ประมาณ 10 นาที จนขนมขึ้นฟู            4. ใส่น้ำลงในชุดนึ่ง